การฟ้อง

เมื่อผู้ใดมีเหตุที่จะฟ้องคดีต่อศาลได้แล้ว ต้องพืจารณาว่าจะฟ้องต่อสารใด

คดีเกี่ยวกับทรัพย์

คดีเกี่ยวกับทรัพย์ให้ฟ้องกับศาลที่ทรัพย์นั้นตั้งอยู่ หรือ ศาลที่จำเลยมีภูมืลำเนาอยู่

คดีที่เกี่ยวกับทรัพย์นี้ หมายถึง อสังหาริมทรัพย์ คือ ทรัพย์ที่ เคลื่อนที่ไม่ได้เช่น ที่ดิน อาคาร

สิ่งปลูกสร้างต่าง ๆ เป็นต้น

ตัวอย่าง นายดำมีภูมิลำเนาอยู่ลำปาง เช่าที่ดินนายแดงอยู่ที่เชียงใหม่มีกำหนด 5 ปี ครบกำหนดแล้วนายดำก็ไม่ออกจากที่ดิน นายแดงจึงฟ้องขับไล่นายดำออกจากที่ดินของนายแดง

 

กรณีนี้เป็นคดีที่เกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ คือ ที่ดิน โดยนายแดงฟ้องนายดำให้ออกจากที่ดิน เป็นคดีที่เกี่ยวกับทรัพย์ ให้ฟ้องที่ศาลจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งที่ดินตั้งอยู่ หรือฟ้องศาลจังหวัดลำปางที่นายดำจำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ก็ได้

คดีไม่เกี่ยวกับทรัพย์สิน

คดีไม่เกี่ยวกับทรัพย์ คือ คดีอื่นไม่เกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ เช่น คดีฟ้องเรียกเงินกู้ ฟ้องเรื่องผิดสัญญาซื้อขาย ฟ้องหย่า เป็นต้น ให้ฟ้องศาลที่จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ คือ จำเลยอยู่ที่ไหนก็ฟ้องศาลนั้น หรือจะฟ้องศาลที่มูลคดีเกิดก็ได้

มูลคดีเกิด คือ สถานที่ที่เกิดการพิพาทขึ้น เช่น ทำสัญญาซื้อขายข้าวที่จังหวัด ชัยนาท และ ให้ส่งมอบข้าวกันที่จังหวัดชัยนาท แล้วทีการผิดสัญญาไม่ส่งมอบข้าวมาที่จังหวัดชัยนาท สถานที่มูลคดีเกิดคือ จังหวัดชัยนาท

ตัวอย่าง นายดำอยู่ที่สมุทรปราการ นายแดงอยู่ที่สมุทรสาครนายแดงกู้เงินนายดำไป 500,000 บาทที่จังหวัดสมุทรสงคราม เมื่อถึงกำหนดแล้วไม่ชำระ

นายดำจะฟ้องนายแดงต้องฟ้องที่ศาลจังหวัดสมุทรสาครที่นายแดงมีภูมิลำเนาอยู่ หรือ ฟ้องที่ศาลจังหวัดสมุทรสงครามที่มูลคดีเกิดก็ได้

คดีไม่มีข้อพิพาท

คดีไม่มีข้อพิพาท คือ คดีที่ผู้ร้องมีความจำเป็นต้องใช้สิทธิทางศาล เช่น การขอเป็นผู้จัดการมรดก การร้องขอให้ศาลสั่งให้เป็นผู้สาบสูญ เป็นต้น ต้องยี่นฟ้องต่อศาลดังต่อไปนี้

คดีไม่มีข้อพิพาททั่วไป คือ คดีที่ผู้ร้องมีความจำเป็นต้องใช้สิทธิทางศาล ทั่วไป เช่น การร้องขอศาลสั่งให้เป็นผู้สาบสูญ การร้องขอให้ศาลสั่งให้เป็นบุคคลไร้ความสามรถ หรือให้ศาลสั่งให้เป็นบุคคลเสมือนไร้ความสามารถ เป็นต้น

คดีไม่มีข้อพิพาทเกี่ยวกับการร้องขอแต่งตั้งผู้จัดการมรดก ให้ฟ้องต่อศาลที่เจ้ามรดกมีภูมิลำเนาในขณะถึงแก่ความตาย

Back to ma

Back to main page

in page