หลักกฏหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งได้วางหลักเกณฑ์เกี่ยวกับข้นตอนการพิจารณาพิพากษาคดีแพ่งไว้

1.ผู้มีสิทธิฟ้องคดีแพ่ง

การฟ้องคดีแพ่งต่อสารนั้น มิใช่ฟ้องได้ตามอำเภอใจ ผู้ที่จะฟ้องคดีแพ่งได้นั้นจะต้องมีเหตุตามกฎหมาย เหตุตามกฎหมายที่จะฟ้องได้นั้น มี 2 ประการ คือ มีการโต้แย้งสิทธิ และ มีความจำเป็นต้องใช้สิทธิทางศาล

การโต้แย้งสิทธิ หมายถึง กรณีที่มีข้อโต้แย้งพิพาทกันเกิดขึ้น และไม่สามารถตกลงกันได้ จึงนำคดีขึ้นสู่ศาล เพื่อพิจารณาพิพากษาชี้ขาด

ตัวอย่าง นาย ก. ซื้อน้ำตาลจาก ข. จำนวน 50,000 บาท ถึงกำหนดนาย ก. ไม่ชำระค่าซื้อน้ำตาล 50,000 บาท ให้นาย ข.

ในกรณีนี้มีข้อขัดแย้งเกิดขึ้นระหว่างนาย ก. กับ นาย ข. และการขัดแย้งนาย ข. เป็นผู้สูญเสียสิทธิที่พึงได้ คือ ค่าน้ำตาลจำนวน 50,000 บาท ถือว่าเป็นการโต้แย้งสิทธิ นาย ข. ฟ้องเรียกให้นาย ก.ชำระค่าน้ำตาลจำนวน 50,000 บาท ให้แก่นาย ข. ได้

***** การฟ้องในกรณีที่มีข้อโต้แย้งสิทธิต้องฟ้องผู้ที่มาโต้แย้งสิทธิเป็นจำเลยต่อศาล เป็น คดีที่มีโจทก์ และ จำเลย หรือ อีกนัยหนึ่งเรียกว่า คดีมีข้อพิพาท *****

 

การใช้สิทธิทางศาล หมายถึง กรณีที่กฎหมายระบุไว้ว่าการกระทำบางอย่าง จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับอนุญาติจากศาลก่อน เช่น การขอเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย การขอให้เป็นผู้ปกครองผู้เยาว์ หรือ การทำนิติกรรมแทนผู้เยาว์ เป็นต้น

ตัวอย่าง นางสาว ก.เป็นผู้เยาว์อายุ 17 ปี บิดามารดาถึงแก่กรรมหมด และ ไม่มี

ผู้ปกครอง ปรารถนาจะสมรสกับนาย ข. อายุ 18 ปี แต่นางสาว ก. ไม่มีผู้ให้ความยินยอมให้ทำการสมรส กรณีนี้นางสาว ก.อาจยื่นคำร้องขอต่อศาลให้ศาลมีคำสั่งอนุญาติให้ทำการสมรสได้ มิฉะนั้นการสมรสอาจตกเป็นโมฆียะกรรม เป็นกรณีต้องใช้สิทธิทางศาล

*****กรณีที่มีความจำเป็นต้องใช้สิทธิทางศาลนั้น ผู้ขอไม่จำเป็นต้องฟ้องใครเป็นจำเลยต่อศาล เพียงแต่ยื่นคำร้องขอต่อศาลเท่านั้น แล้วศาลจะสั่งนัดไต่สวนคำร้องขอของผู้ร้อง คดีเช่นนี้มีผู้ร้องเพียงฝ่ายเดียวไม่มีจำเลย หรือ อีกนัยหนึ่งเรียกว่า คดีไม่มีข้อพิพาท *****

Back to main page